วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

วิทวัฒน์ แก้วแหวน

สังคายนาแห่งคอนแตนติส ครั้งที่ 1

เบื้องหลัง,สาเหตุที่ทำให้เกิดสังคายนาดังกล่าว
                ขอกล่าวเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงของพระศาสนาจักรใน ค..313 ยุคของจักรพรรคคอนสแตนติน ได้มีการสนับสนุสพระศาสนาจักรเป็นอย่างมาก จนกระทั่งตั้งเป็นศาสนาพระจำจักรวรรดิทำให้พระศาสนาจักรเป่นที่ยอมรับและเสรีภาพในการประกาศ และนับถือศาสนาอย่างมากยิ่งขึ้นและงกระจายไปทั่วจักรวรรดิอย่างรวดเร็ว เพราะได้รับการสนับสนุนจากจักรพรรดิ โครงสร้างเมืองที่เอื้ออำนวยในเรื่องการเดินทาง คือ มีถนนอย่างดีจึงง่ายต่อการเดินทางไปสอนศาสนา หรือเผยแพร่ศาสนา
จากความเอื้ออำนวยความสะดวกดังกล่าว จึงก๋อให้เกิดการพัฒนาทางด้านศาสนา ในด้านโครงการสร้างของพระศาสนจักร วิถีชีวิตของคริสตชน จำนวนคริสตชนที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วและโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านพิธีกรรมของศาสนา ในที่นี้จะขอกล่าวเพียงด้านพิธีกรรมเนื่องจากเกี่ยวข้องกับข้อความเชื่อของศาสนาจะเห็นเหตุก่อให้เกิดความขัดแย้งทางข้อความเชื่อ
                พิธีธกรรมที่มีการพัฒนาอย่างมาก โดยส่วนมากเอาพิธีกรรมเก่ามาดัดแปลงใหม่ อาทิ เสื้อผ้าที่ใช้ในพิธีกรรม ห้องภาวนาขนาดเล็กพัฒนาเป็นวิหารขนาดใหญ่ พิธีกรรมที่เคยทำแบบง่ายๆ ก็พัฒนาจัดแยกเป็นหมวดหมู่, เขตพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สงวนไว้สำหรับสมณะเท่านั้นที่สามารถเข้าไปได้ เพื่อทำพิธีถวายเครื่องบูชาแด่พระเจ้า, การเปลี่ยนแปลงอีกด้านหนึ่งคือการเข้าพิธีคริสตชนใหม่จากที่เคยถูกเบียดเบียนถูกบังคับ บ้นนี้มีแค่พระศาสนาจักรเบียดเบียนผู้อื่น
                เนื่องจากพิธีกรรมที่เกิดขึ้นนั้นมีศูนย์กลางมาจาก พระคัมภีร์ พระเยซูเจ้าที่ทรงลงมาบนโลกยอมตาย และกลับคืนชีพ ต่อมาได้มีการพัฒนาความคิด ความหมายมากขึ้นผ่านทางกระบวนการปรัชญา และ เทววิทยา จึงเกิดปัญหามีหลากหลายคำสอน เพราะว่าคนสอนต่างสอนในมุมมองของตนเอง จนกระทั่งบ้างข้อคำสอนผิดเพียนไป หรือบ้างครั้งก็สอนคำสอนได้อย่างไม่ชัดเจนจนเกิดการตีความคิดผิดเพียนไปได้ ดังนั้นจึงได้มีบท ข้าพเจ้าเชื่อ (Credo) เพื่อข้อคำสอนได้เป็นไปในทางเดียวกันยืนยันถึงสิ่งเดียวกัน

สาเหตุปัญหาสู่การเกิดสังคายนา
                แต่เนื่องจากมีปรัชญา และเทววิทยา มาสนับสนุนในเรื่องเสริมสร้างความเชื่ออย่างมีเหตุผมน่าเชื่อถือไม่งมงาย แต่บ้างครั้ง ก็นำข้อสงสัยที่นำไปสู่ความขัดแย้ง ดังคำถาม เป็นไปได้อย่างไรที่พระเจ้าหนึ่งเดียวทรงเป็นทั้งพระบิดาและพระบุตรในเวลาเดียวกัน หรือเป็นไปได้อย่างไรที่มนุษย์เกิดแล้วตายจะเป็นพระเจ้าด้วย ทั้งที่ความหมายของพระเจ้า คือ ไม่เปลี่ยนแปลง คงอยู่ถาวร ซึ่งบท ข้าพเจ้าเชื่อก็ได้รับอิทธิพลจากคำถามเหล่านี้ ปรับปรุงข่้อคำสอนให้น่าเชื่อถือ
                ซึ่งใน การประชุมสังคายนาที่เมืองนีเชอา (Nicaea) (..325) ได้มีก่อปัญหาบางประเด็นที่ทำให้เกิดสังคายนาคอนสแตนติน คือ ข้อตกลงของการประชุมสังคายนาที่เมืองนีเชอา เป็นปัญหาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว หลายคนปฏิเสธคำว่า Homoousios เพราะคำนี้ไม่พบในพระคัมภีร์ คนอื่นเตือนความจำว่า พวกสอนนอกรีตเคยใช้คำๆ นี้ เพราะพวกเขาไม่รู้จักแยกแยะพระบิดาออกจากพระบุตร ต่อมาไม่ช้า ชาวตะวันตกส่วนมากปฏิเสธไม่ยอมรับสูตรของที่ประชุมสังคายนาแห่งเมืองนีเชอาอีกเลย เว้นแต่พระสังฆราชนักบุญอาทานาซีอุส พระสังฆราชแห่งเมืองอเล็กซานเดรีย ตั้งแต่ ค..328 คริสตชนตะวันตก (ละติน) มักจะซื่อสัตย์ต่อมติของที่ประชุมสังคายนาแห่งนีเชอา
                 และอีกประเด็นที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าว คือ จักรพรรดิคอนสแตนติน ผู้ได้ทรงสนับสนุนบทข้าพเจ้าเชื่อของเมืองนีเชอา ได้เปลี่ยนพระทัยโดยมุ่งพระทัยให้คริสตชนตะวันออก การทะเลาะเบาะแว้งก่อให้เกิดการแตกแยกในพระศาสนจักรท้องถิ่น ความรุนแรงและการชำระแค้นทวีมากขึ้น จึงได้มีการจัดประชุมหลายครั้งหลายหน และแต่ละครั้งได้เสนอสูตรใหม่ขึ้นมา แต่ไม่สามารถทำให้ทุกฝ่ายพอใจได้ ใน ค..359 จักรพรรดิเสนอสูตรซึ่งมีความหมายกว้างๆ คือพระบุตรคล้ายคลึงกับ (Homoios) พระบิดา
                เพราะความวุ่นวายนี้เอง ความคิดในด้านเทววิทยาได้พัฒนาขึ้น ศัพท์ที่เคยเป็นปัญหาได้รับการนิยามให้ชัดเจนขึ้น มีการแยะคำ Ousia (สารัตถะ สภาวะ) และ Hypostasia (บุคคล) ทำให้สามารถประสานคำสอนสองเรื่องได้คือ การที่พระบิดาและพระบุตรทรงเท่าเสมอกันในสภาวะ (Ousia) และการที่พระบิดาและพระบุตรแยกเป็นสองพระบุคคล (Hypostasia)
                แต่แล้วเกิดคำถามใหม่ขึ้นมา คือ พระจิตเจ้าเป็นพระเจ้าหรือไม่ พวกนิยมอาริอุสปฏิเสธเรื่องนี้พวกเขาจึงถูกเรียกว่าพวกต่อต้านพระจิตเจ้า (Pneumatomakos) เป็นแผนการของพระเจ้าที่ทรงส่งนักบุญบาซิล (Basil) พระสังฆราชแห่งเมืองซีซารีอา (..370-379)และ นักบุญเกรโกรี่ แห่งนาซีอันซุส (Gregory of Nazianzus) เขียนหนังสือเล่มหนึ่งเรื่องพระจิตเจ้า ท่านอธิบายและยืนยันว่า พระจิตเจ้าด้วยทรงมีพระธรรมชาติเดียวกับพระบิดาด้วย

ผลการประชุมสังคายนาคอนสแตนติน ครั้งที่ 1
            ใน ค..380 จักรพรรดิเทโอโดซิอุส ทรงประกาศว่าคริสต์ศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติพระองค์รับรองว่านักบุญเกรโกรี่ แห่งนาซีอันซุส เป็นพระสังฆราชแห่งกรุงคอนสแตนติโนเปิล และทรงเรียกประชุมสังคายนาในเมืองหลวง (..381)การประชุมสังคายนาครั้งนี้ได้รวบรวมพระสังฆราชจากตะวันออกเท่านั้นและจากผลการประชุมมีข้อตกลงเหลืออยู่เพียงแค่ 4 ข้อเท่านั้น คือ
                1 เราต้องรักษาความเชื่อที่การประชุมสังคายนาแห่งเมืองนีเชอาประกาศไว้
                2 และจะต้องปฏิเสธคำสอนนอกรีต ที่เป็นมาในภายหลังทั้งหมด
                3 ที่ประชุมจึงได้นำบทข้าพเจ้าเชื่อแห่งนีเชอากลับมาพิจารณา
                4 และเพิ่มคำยืนยันความเชื่อเรื่องพระจิตเจ้าว่าข้าพเจ้าเชื่อว่าพระจิตทรงเป็นพระเป็นเจ้า ผู้บันดาลชีวิต ทรงเนื่องมาจากพระบิดา ทรงรับสักการะและพระสิริรุ่งโรจน์ร่วมกับพระบิดาและพระบุตรนี่คืความเป็นมาของบทข้าพเจ้าเชื่อที่เราสวดทุกวันอาทิตย์ ในศตวรรษที่ 8 คริสตชนตะวันตกที่ใช้ภาษาละตินได้เพิ่มคำทรงเนื่องมาจากพระบิดาและพระบุตร” (Filioque)
                ผลสืบเนื่องจากการใช้คำทรงเนื่องมาจากพระบิดาและพระบุตรเป็นสาเหตุอันหนึ่งที่ทำให้พระศาสนจักรละติน(ตะวันตก)และพระศาสนจักรกรีก(ตะวันออก)แตกแยก ซึ่งจะเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 11

บทสรุปจาการศึกษา
จะเห็นได้ว่าบทข้าพเจ้าเชื่อพระศาสนจักรพยายามโดยตลอดเวลาหลายศตวรรษมานี้ เพื่อตอบสนองความต้องการของยุคต่างๆ การประกาศยืนยันความเชื่อ หรือสัญลักษณ์แห่งความเชื่อมีอยู่หลายสำนวนตามกาลสมัย สัญลักษณ์ทั้งหลายที่ใช้อยู่ในสมัยต่างๆนั้น ไม่มีสัญลักษณ์ใดเลยที่ถือได้ว่าเป็นสิ่งล้าสมัยและไร้ประโยชน์ สัญลักษณ์เหล่านี้ช่วยเราในปัจจุบัน ให้ขึ้นถึงและเข้าใจความเชื่ออย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อสรุปย่อหลากหลายซึ่งมีผู้ทำขึ้นไว้ ในบรรดาสัญลักษณ์แห่งความเชื่อ มีอยู่สองสำนวนซึ่งมีตำแหน่งสำคัญเป็นพิเศษในชีวิตของพระศาสนจักร คือ สัญลักษณ์แห่งอัครสาวก ที่มีชื่อดังนี้ เพราะได้รับการพินิจอย่างถูกต้องแล้วว่าเป็นบทสรุปย่อที่ซื่อตรงแห่งความเชื่อของบรรดาอัครสาวก สำนวนนี้เป็นสัญลักษณ์เก่าแก่ที่ใช้ในพิธีโปรดศีลล้างบาปของพระศาสนจักรแห่งโรมอำนาจยิ่งใหญ่ของสัญลักษณ์บทนี้มาจากข้อเท็จจริงที่ว่าสัญลักษณ์แห่งอัครสาวกบทนี้ เป็นสัญลักษณ์ซึ่งพระศาสนจักรโรมันรักษาไว้ พระศาสจักรโรมันอันเป็นแหล่งที่นักบุญเปโตร อัครสาวกคนแรก ดำรงตำแหน่งอยู่ และได้เป็นผู้ตัดสินชี้ขาดในเรื่องถ้อยคำที่จะต้องใช้ร่วมกัน” (.อัมโบรส Expl. symb.7:PL 17,1196) อีกสำนวนสัญลักษณ์ที่มีที่มาจากการประชุมสภาสังคายนาสากลสองครั้งแรก (325 และ381) เป็นสัญลักษณ์ซึ่งแม้กระทั่งทุกวันนี้ก็ยังใช้ร่วมกันอยู่ในพระศาสนจักรใหญ่ๆ ทุกแห่ง ทั้งในภาคตะวันออกและตะวันตก

ลัทธิอารีอุส
                การโต้แย้งกับพวกนิยมอารีอุสก่อให้เกิดการแตกแยกในพระศาสนจักร จักรพรรดิ คอนสแตนตินเรียกบรรดาพระสังฆราชมาร่วมสังคายนาที่เมืองนีเชอาเกี่ยวกับเรื่องหลักคำสอน บรรดาพระสังฆราชตัดสินว่าคำสอนของลัทธินิยมอารีอุสผิด และบอกว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระเจ้าแท้จากพระเจ้าแท้ มิได้ถูกสร้าง ทรงบังเกิดร่วมพระธรรมชาติการโต้เถียงระหว่างพวกนิยมอารีอุสกับผู้คัดค้านได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และได้คุกคามพระศาสนจักรจนก่อให้เกิดความแตกแยกและเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามกลางเมืองในจักรวรรดิ จักรพรรดิคอนสแตนตินเชื่อว่า การปกป้องเอกภาพของพระศาสนจักรเป็นหน้าที่ที่พระเจ้าทรงมอบให้ในฐานะเป็นจักรพรรดิ ด้วยการแนะนำของพระสังฆราชโฮซิอุส แห่งคอร์โดวา ที่ปรึกษาด้านเทววิทยาจักรพรรดิคอนสแตนตินทรงเรียกประชุมสังคายนาที่เมืองนีเชอา อยู่ใกล้เมืองคอนสแตนติโนเปิ้ล เป็นเมืองที่จักรพรรดิไปพักผ่อนเป็นประจำ การประชุมครั้งนี้ถูกเรียกว่าเป็นสังคายนาสากล มีการชุมนุมกันของบรรดาพระสังฆราชจากพระศาสนจักรทั่วโลก มีพระสังฆราชมากกว่า 300 องค์มาร่วมประชุมครั้งนี้ พระสังฆราชเกือบทั้งหมดจากภาคตะวัน ออกที่พูดภาษากรีกมาเข้าร่วม และอีกประมาณ 15 องค์จากภาคตะวันตกที่พูดภาษาลาติน เป็นกลุ่มที่ใหญ่มากสำหรับวัดแห่งเมืองนีเชอา จักรพรรดิจึงอนุญาตให้ใช้พระราชวังของพระองค์สำหรับจัดการประชุมสังคายนาเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 พฤษภาคม ค..325 โดยจักรพรรดิคอนสแตนตินเป็นประธานเปิดด้วยพระองค์เอง ในสุนทรพจน์เปิดการประชุม พระองค์ทรงเรียกร้องให้บรรดาพระสังฆราชแสวงหาสันติภาพและความสามัคคีปรองดองกันภายในพระศาสนจักรการโต้เถียงได้ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ จากที่พวกนิยมอารีอุสเสนอความคิดของพวกเขาเกี่ยวกับพระคริสตเจ้า บรรดาพระสังฆราชส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับความคิดของพวกนิยมอารีอุส ดังนั้นบรรดาพระสังฆราชพยายามหาข้อตกลงกันในคำแถลงที่ประกาศถึงความเชื่อแท้จริงของพระศาสนจักร ที่ประชุมสังคายนายืนยันว่าพระเยซูคริสตเจ้าทรงมีพระธรรมชาติเดียวกับพระบิดาส่วนคำอธิบายอื่นๆ บอกว่า พระองค์ทรงเป็นพระเจ้า เหมือนพระบิดาเป็นพระเจ้า พระเยซูไม่ได้ทรงถูกสร้าง แต่ทรงบังเกิดจากพระบิดาก่อนการเริ่มต้นสิ่งสร้างทั้งหลาย ทุกวันนี้ในบทข้าพเจ้าเชื่อยังคงใช้ข้อความอธิบายถึงพระเยซูเจ้าที่ออกมาจากสังคายนาที่เมืองนีเชอา ว่าทรงเป็นพระเจ้าจากพระเจ้า ทรงเป็นองค์ความสว่างจากองค์ความสว่าง ทรงเป็นพระเจ้าแท้จากพระเจ้าแท้ มิได้ถูกสร้างแต่ทรงบังเกิดร่วมพระธรรมชาติเดียวกับพระบิดาบรรดาพระสังฆราชบรรลุถึงความเห็นร่วมกันของที่ประชุมส่วนใหญ่ สังคายนาถูกเรียกเพราะเห็นถึงอันตรายจากการแตกแยกอย่างรุนแรง และเพื่อยืนยันถึงความเป็นเอกภาพในพระศาสนจักร ในเวลาต่อมาพวกนิยมอารีอุสไม่กล้าต่อต้านสังคายนาเมืองนีเชอาอย่างเปิดเผย และเป็นจริง เหมือนสิ่งที่จักรพรรดิคอนสแตนตินได้พูดว่าอะไรก็ตามที่ถูกตัดสินโดยพระสังฆราช 300 องค์ ไม่สามารถเป็นอย่างอื่นได้นอกจากเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า ด้วยว่าพระจิตเจ้าที่ประทับอยู่กับบุคคลเหล่านั้นทำให้เป็นไปตามน้ำพระทัยของพระองค์เอง
จากเว็บhttp://www.catholic.or.th/archive/historyxa/history6/story12.html

ประวัติจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1
                จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 (ภาษาอังกฤษ: Constantine I 27 กุมภาพันธ์ ประมาณ ค.. 272– 22 พฤษภาคม ค.. 337) ครองราชสมบัติเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม ค.. 306 ถึงวันที่ 29 ตุลาคม ค.. 312 มีพระนามเต็มว่า “Flavius Valerius Aurelius Constantinus” หรือที่รู้จักกันว่าคอนสแตนตินที่ 1” ในบรรดาผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก หรือ คอนสแตนตินมหาราชหรือนักบุญคอนสแตนตินในบรรดาผู้นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ หรือนิกายไบแซนไทน์คาทอลิก พระราชกรณียกิจสำคัญที่สุดคือการประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมายของจักรวรรดิโรมันเมือปี ค.. 313 จักพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 จึงเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมันที่นับถือศาสนาคริสต์ตามพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน (Edict of Milan) ที่ประกาศโดยจักรพรรดิลีซีนีอุส (Licinius) ผู้ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมกับพระองค์ พระราชกฤษฎีกาแห่งมิลานเป็นพระราชกฤษฎีกาที่ยกเลิกการทารุณกรรมต่อคริสต์ศาสนิกชนทั่วทั้งจักรวรรดิโรมัน
                ตามปฏิทินศาสนาของไบเซ็นไทน์ของนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ และนิการคาทอลิกตะวันออกแห่งไบเซนไทน์บันทึกจักพรรดิคอนสแตนตินที่ 1และเฮเลนแห่งคอนสแตนติโนเปิลพระมารดาว่าเป็นนักบุญ แต่ในปฏิทินศาสนาของตะวันตกไม่มีอยู่ในรายนามนักบุญ คอนสแตนตินได้รับนาม มหาราชเพราะพระราชกรณียกิจต่างที่ทรงทำให้ต่อคริสต์ศาสนา ในปี ค.. 324 จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงประกาศการปรับปรุงเมืองไบเซนเทียมให้เป็นกรุงโรมใหม่” (Nova Roma) และเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.. 330 ทรงประกาศให้เมืองไบเซ็นเทียมเป็นเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิโรมัน เมืองไบเซ็นเทียมเปลื่ยนชื่อเป็นคอนสแตนติโนเปิลแปลว่าเมืองของคอนสแตนตินหลังจากจักพรรดิคอนสแตนตินสิ้นพระชนม์เมื่อปี ค.. 337 เมืองคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์ต่อมาอีกกว่าหนึ่งพันปียกเว้นเพียงระยะเวลาสั้นๆ เมื่อถูกปล้นและเผาและยึดครองระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่สี่ เมื่อปี ค.. 1204 ในที่สุดการเป็นเมืองหลวงก็มาสิ้นสุดลงในสมัยจักรวรรดิออตโตมันเมื่อปี ค.. 1453
จากเว็บ th.wikipedia.org/wiki/

บทข้าพเจ้าเชื่อจากสังคายนานิเชอา-คอนสแตนติโนเปิล
                ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระเป็นเจ้าทรงเป็นหนึ่งเดียว พระบิดาผู้ทรงสรรพานุภาพ เนรมิตฟ้าดิน ทั้งสิ่งที่เห็นได้และเห็นไม่ได้ ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระเยซูคริสตเจ้า ทรงเป็นพระบุตรองค์เดียวของพระเป็นเจ้าทรงบังเกิดจากพระบิดา ก่อนกัปก่อนกัลป์ เป็นพระเป็นเจ้าจากพระเป็นเจ้า เป็นองค์ความสว่างจากองค์ความสว่าง เป็นพระเป็นเจ้าแท้จากพระเป็นเจ้าแท้ มิได้ถูกสร้าง แต่ทรงบังเกิดร่วมพระธรรมชาติเดียวกับพระบิดา อาศัยพระบุตรนี้ ทุกสิ่งได้เนรมิตขึ้นมา เพราะเห็นแก่เรามนุษย์ เพื่อช่วยให้เรารอดพ้น พระองค์จึงเสด็จจากสวรรค์ พระองค์ทรงรับเอากายจากพระนางมารีย์พรหมจารี ด้วยพระอานุภาพของพระจิต มาเกิดเป็นมนุษย์ สมัยปอนทิอัสปิลาต พระองค์ทรงถูกตรึงกางเขนเพื่อเราทรงรับทรมานและถูกฝังไว้ ทรงคืนชีพในวันที่สามตามความในพระคัมภีร์ เสด็จขึ้นสวรรค์ประทับเบื้องขวาพระบิดา พระองค์จะเสด็จมาอีกด้วยพระสิริรุ่งโรจน์ เพื่อพิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย รัชสมัยของพระองค์จะไม่มีสิ้นสุด ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระจิตทรงเป็นพระเจ้า ผู้บันดาลชีวิต ทรงเนื่องมาจากพระบิดาและพระบุตร ทรงรับสักการะและพระสิริรุ่งโรจน์ ร่วมกับพระบิดาและพระบุตร พระองค์ดำรัสทางประกาศก ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระศาสนจักร เป็นหนึ่งเดียว ศักดิ์สิทธิ์ สากล และสืบจากอัครสาวก ข้าพเจ้าประกาศยืนยันว่ามีศีลล้างบาปหนึ่งเดียวเพื่อยกบาป ข้าพเจ้ารอวันที่ผู้ตายจะคืนชีพ และคอยชีวิตในภพหน้า อาแมน

บทสัญลักษณ์ของอัครสาวก
ข้าพเจ้าเชื่อถึงพระเป็นเจ้า พระบิดาทรงสรรพานุภาพ สร้างฟ้าดิน เชื่อถึงพระเอกบุตรเยซูคริสต์สวามีของเรา ปฏิสนธิเดชะพระจิต บังเกิดจากพระนางมารีอาพรหมจารี! รับทรมานสมัยปอนซีโอปีลาโต ถูกตรึงกางเขน ตาย และฝังไว้ เสด็จลงใต้บาดาล วันที่สามกลับคืนชีพจากบรรดาผู้ตายเสด็จขึ้นสวรรค์ ประทับเบื้องขวาพระเป็นเจ้า พระบิดา ทรงสรรพานุภาพ แล้วจะเสด็จมาพิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย ข้าพเจ้าเชื่อถึงพระจิต พระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์สากล สหพันธ์นักบุญ การยกบาป การคืนชีพของเนื้อหนัง และชีวิตนิรันดร อาแมน!
ที่มา : คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ภาค 4 : การประกาศยันยันความเชื่อ. พิมพ์ครั้งที่ 4. แผนกคริสต
ศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ.

บทสัญลักษณ์ของอัครสาวก (ปัจจุบัน)
ข้าพเจ้าเชื่อในพระเจ้า พระบิดาผู้ทรงสรรพานุภาพ ทรงเนรมิตฟ้าดิน ข้าพเจ้าเชื่อในพระเยซูคริสตเจ้า พระบุตรหนึ่งเดียวของพระเจ้า องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย ทรงปฏิสนธิเดชะพระจิตเจ้า ทรงบังเกิดจากพระนาง มารีย์พรหมจารี ทรงรับทรมานสมัยปอนทิอัส ปิลาต ทรงถูกตรึงกางเขน สิ้นพระชนม์ และทรงถูกฝังไว้ เสด็จสู่แดนมรณะ วันที่สามทรงกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตายเสด็จสู่สวรรค์ ประทับเบื้องขวาพระเจ้า พระบิดาผู้ทรงสรรพานุภาพ แล้วจะเสด็จมาพิพากษาผู้เป็นและผู้ตายข้าพเจ้าเชื่อในพระจิตเจ้า พระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์สากล ความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวของผู้ศักดิ์สิทธิ์ การอภัยบาป การกลับคืนชีพของร่างกาย และชีวิตนิรันดร อาแมน

การประชุมสังคายนาที่เมืองนีเชอา (Nicaea) (..325)
                 ในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านไป เคยมีการจัดประชุมสังคายนาระดับท้องถิ่น (Localcouncils) หลายครั้ง ในการเรียกพระสังฆราชทั้งหมดมาประชุมสังคายนาที่เมืองนีเชอา ซึ่งอยู่ในเขตบิทีเนีย (Bithynia) ทางใต้ของบอสโฟรุส (Bospherus) จักรพรรดิคอนสแตนตินได้ให้กำเนิดระบบการประชุมแบบใหม่ในพระศาสนจักร เรียกว่าการประชุมสังคายนาสากล (Ecumenical Council) นับว่าเป็นครั้งแรกที่มีการประชุมแบบนี้ (การประชุมสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 เป็นการประชุมครั้งที่ 21) ในการประชุมที่เมืองนีเชอามีพระสังฆราชร่วมประชุมประมาณ 300 องค์ ซึ่งเรารู้จักชื่อของพระสังฆราชประมาณ 220 องค์ พระสังฆราชส่วนใหญ่มาจากตะวันออก และถือวัฒนธรรมกรีก บรรดาพระสังฆราชเหล่านั้นอยู่ใกล้เมืองอเล็กซานเดรีย และสนใจการถกเถียงปัญหาข้อความเชื่อมากกว่า ส่วนพระสังฆราชตะวันตกมาร่วมประชุมไม่กี่องค์ คือ พระสังฆราชเซซีเลียนแห่งเมืองคาร์เทจ (Cecilian of Carthage) อีกองค์หนึ่งมาจากเขตคาลาเบรีย (Calabria) พระสงฆ์สององค์ซึ่งเป็นผู้แทนของพระสังฆราชซิลแวสเตอร์ (Silvester) แห่งกรุงโรม พระสังฆราชนิคาซิอุสแห่งดีอา (Nicasius of Dia) และพระสังฆราชโอซิอุสแห่งกอร์โดบา (Osius of Cordoba) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของจักรพรรดคอนสแตนตินในด้านศาสนา การประชุมสังคายนาเป็นที่ประทับใจอย่างยิ่ง เป็นครั้งแรกที่มีการรวบรวมสมาชิกระดับหัวหน้าของพระศาสนจักรจำนวนมากมายเช่นนี้ พระสังฆราชหลายองค์ยังมีแผลเป็นของการถูกเบียดเบียนครั้งล่าสุด พระสังฆราชผู้ดีมีตระกูลนั่งอยู่ร่วมกับพระสังฆราชที่มีอาชีพเลี้ยงสัตว์ ทุกองค์พิศวงในการต้อนรับที่จักรพรรดิได้ทรงจัดให้ พิศวงในการตกแต่งพระราชวังอย่างสวยงาม และในความงามของเครื่องแบบเต็มยศของทหารกองเกียรติยศ พระอาณาจักรของพระเจ้าจะสวยงามยิ่งกว่านี้สักแค่ไหนหนอ พระสังฆราชส่วนใหญ่ยืนยันตัดสินใจลงโทษอาริอุส และเมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องให้คำจำกัดความหลักความเชื่อให้ชัดเจนแน่นอน ยูเซบิอุส พระสังฆราชแห่งซีซารีอา เสนอบทข้าพเจ้าเชื่อที่ใช้ในสังมณฑลของท่าน ที่ประชุมรับรอง แต่จักรพรรดิซึ่งได้รับคำแนะนำจากพระสังฆราชโอซิอุส ทรงขอให้บรรดาพระสังฆราชเพิ่มเติมคำหนึ่ง Homoousios เมื่อพูดถึงพระบุตรของพระเจ้า คำที่ขอให้เพิ่มเติมมีความหมายว่า พระบุตรมีพระธรรมชาติ (อูซีอา Ousia) เดียวกัน (โฮโม Homo) กับพระบิดา หรือทรงร่วมสภาวะเดียวกันกับพระบิดา คำนี้ยืนยันว่าพระบิดาและพระบุตรเท่าเสมอกันเมื่อเป็นข้อเสนอของจักรพรรดิ บรรดาพระสังฆราชรับรอง เว้นแต่สององค์ซึ่งไม่ยอมรับจึงถูกเนรเทศพร้อมกับอาริอุสด้วย (Dwyer, John C.1985:) ที่ประชุมยังใช้โอกาสนี้กำหนดกฎระเบียบของพระศาสนจักรบางประการ เช่น มีการตกลงกันว่า ให้มีการฉลองวันสมโภชปัสกาตรงกับวันที่กรุงโรมและเมืองอเล็กซานเดรียได้กำหนดไว้ มีการวางกฎบางประการสำหรับตำแหน่งพระสังฆราชด้วย เราจะพูดถึงเรื่องนี้ในภายหลัง (ข้อ 5.3.1) มีข้อกำหนดที่จำกัดการอยู่ด้วยกันของสตรีกับสมณะ ตามงานประพันธ์ของโซกราเตส (Socrates) นักประวัติศาสตร์ (ต้นศตวรรษที่ 5) บรรดาพระสังฆราชต้องการให้สมณะที่แต่งงานแล้ว สละชีวิตสามีภรรยา ดูเหมือนว่าประเทศสเปนยอมรับกฎระเบียบนี้อยู่ แต่พระสังฆราชปัฟนูติอุส (Paphnutius) ทั้งๆ ที่เป็นโสดไม่เห็นด้วยข้อเสนอดังกล่าว ที่ประชุมจึงให้เสรีภาพ ให้พระสังฆราช พระสงฆ์ และสังฆานุกรตัดสินใจเอง นอกจากนั้น ยังมีข้อตกลงเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากการเบียดเบียน ปัญหาเรื่องการต้อนรับคนนอกรีตกลับเข้ามาในพระศาสนจักร และระเบียบเกี่ยวกับวิธีการอภิบาลศีลแห่งการคืนดีกัน ข้อตกลงของการประชุมสังคายนาที่เมืองนีเชอา เป็นปัญหาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว หลายคนปฏิเสธคำว่า Homoousios เพราะคำนี้ไม่พบในพระคัมภีร์ คนอื่นเตือนความจำว่า พวกสอนนอกรีตเคยใช้คำๆ นี้ เพราะพวกเขาไม่รู้จักแยกแยะพระบิดาออกจากพระบุตร ต่อมาไม่ช้า ชาวตะวันตกส่วนมากปฏิเสธไม่ยอมรับสูตรของที่ประชุมสังคายนาแห่งเมืองนีเชอาอีกเลย เว้นแต่พระสังฆราชนักบุญอาทานาซีอุส พระสังฆราชแห่งเมืองอเล็กซานเดรีย ตั้งแต่ ค..328 คริสตชนตะวันตก (ละติน) มักจะซื่อสัตย์ต่อมติของที่ประชุมสังคายนาแห่งนีเชอา จักรพรรดิคอนสแตนติน ผู้ได้ทรงสนับสนุนบทข้าพเจ้าเชื่อของเมืองนีเชอา ได้เปลี่ยนพระทัยโดยมุ่งพระทัยให้คริสตชนตะวันออกสบายใจ ความรุนแรงและการชำระแค้นทวีมากขึ้น นักบุญอาทานาซีอุส ซึ่งไม่อยากให้อาริอุสกลับเข้ามารับตำแหน่งเดิม ถูกการประชุมสังคายนาแห่ง เมืองไทระ (Tyr) ใน ค..335 ปลดออกจากตำแหน่ง และถูกเนรเทศไปที่เมืองตรีร์ (Trier) สุดเขตแดน เยอรมัน ท่านคงยังถูกเนรเทศอีก 4 ครั้ง เพราะท่านซื่อสัตย์ต่อมติของการประชุมสังคายนาแห่งเมืองนีเชอา ในช่วงที่บรรดาโอรสของจักรพรรดิคอนสแตนตินครองราชย์นั้น ความแตกแยกในพระศาสนจักรทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ในที่ประชุมสังคายนาแห่งเมืองซาร์ดีกา (Sardica) กรุงเซเฟีย (..342-343) พระสังฆราชตะวันตกและพระสังฆราชตะวันออกแตกแยกเป็นสองฝ่าย จักรพรรดิคอนสแตนติอุส (Constantius) กลับมาเป็นจักรพรรดิองค์เดียวในค..351 พระองค์ทรงสนับสนุนกลุ่มนิยมอาริอุส (Arianism) ครั้งนี้พระสังฆราชตะวันตก(พวกละติน)ถูกเนรเทศให้ไปอยู่ตะวันออก เช่น ลิเบริอุส (Liberius) พระสังฆราชแห่งกรุงโรม ฮิลาริอุส (Hilary) พระสังฆราชแห่งปัวเทียร์ (Poitiers) และโอซิอุส พระสังฆราชแห่งกอร์โดบา เป็นต้น มีการจัดประชุมหลายครั้งหลายหน และแต่ละครั้งได้เสนอสูตรใหม่ขึ้นมา แต่ไม่สามารถทำให้ทุกฝ่ายพอใจได้ ใน ค..359 จักรพรรดิเสนอสูตรซึ่งมีความ
หมายกว้างๆ คือพระบุตรคล้ายคลึงกับ (Homoios) พระบิดาต่อข้อเสนอนี้นักบุญเยโรม (Jerome)กล่าวว่าแผ่นดินทั้งหมดคร่ำครวญ แปลกใจที่ตนเองกลับเป็นฝ่ายนิยมอาริอุสไปได้การทะเลาะเบาะแว้งก่อให้เกิดการแตกแยกในพระศาสนจักรท้องถิ่น เช่น ที่เมืองอันทิโอกมี 5 กลุ่มนิกาย แต่ละกลุ่มมีพระสังฆราชของตน มีการนำเสนอความคิดทางเทววิทยาในหลายรูปแบบการแตกแยกในพระศาสนจักรแห่งกรุงโรม ทำให้การเลือกตั้งผู้ที่จะรับตำแหน่งแทนพระสังฆราชลิเบริอุสยุ่งยาก (..366) มีผู้สมัครสองคน ในที่สุดดามาซุส (Damasus) เป็นฝ่ายชนะ แต่เกิดมีการต่อสู้กันอย่างดุเดือดขนาดมีคนตายไปถึง 137 คน
ที่มา : Dwyer, John C. (1985). Church History. New Jersey : Paulist Press. (97-100)

การประชุมสังคายนาที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล (..381)
นักบุญบาซิล (Basil) พระสังฆราชแห่งเมืองซีซารีอา (..370-379) ประสบความสำเร็จ ในการก่อให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวในพระศาสนจักรโดยคำสอนของท่านในด้านเทววิทยาก่อน แต่แล้วเกิดคำถามใหม่ขึ้นมา คือ พระจิตเจ้าเป็นพระเจ้าหรือไม่ พวกนิยมอาริอุสปฏิเสธเรื่องนี้ พวกเขาจึงถูกเรียกว่าพวกต่อต้านพระจิตเจ้า (Pneumatomakos) นักบุญบาซิลเขียนหนังสือเล่มหนึ่งเรื่องพระจิตเจ้า ท่านอธิบายและยืนยันว่า พระจิตเจ้าด้วยทรงมีพระธรรมชาติเดียวกับพระบิดาด้วย นักบุญเกรโกรี่ แห่งนาซีอันซุส (Gregory of Nazianzus) เพื่อนของนักบุญบาซิลก็เขียนในแนวเดียวกัน นอกจากนั้นนักบุญบาซิลพยายามสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบรรดาพระสังฆราชตะวันออก และขอร้องให้นักบุญอาทานาซีอุสประสานงานกับบรรดาพระสังฆราชตะวันตก นักบุญบาซิลได้เขียนจดหมายถึงบรรดาพระสังฆราชในเขตโกลและอิตาลี อธิบายถึงสภาพน่าเวทนาของคริสตชนตะวันออก ส่วนดามาซุส (Damasus) พระสังฆราชแห่งกรุงโรม ไม่ค่อยจะช่วยให้มีการคืนดีกับเกิดขึ้นเท่าไรนัก จักรพรรดิวาเลนติอุส (Valentius) ผู้นิยมอาริอุสสิ้นพระชนม์ในการต่อสู้กับพวกโกธ (Goths) ที่อันดรีโนโปลิส (Andrinopolis) ใน ค..378 ใครๆ ถือว่าการพ่ายแพ้อย่างยับเยินครั้งนี้เป็นอาญาโทษของพระเจ้า กราเตียน จักรพรรดิตะวันตก และเทโอโดซิอุส จักรพรรดิตะวันออก ทั้งสองพระองค์ได้ทรงตัดสินจะต้องยุติการวิวาทเรื่องเทววิทยาซึ่งบานปลายเป็นการจลาจลตามท้องถนน
ใน ค..380 จักรพรรดิเทโอโดซิอุส ทรงประกาศว่าคริสต์ศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ พระองค์รับรองว่านักบุญเกรโกรี่ แห่งนาซีอันซุส เป็นพระสังฆราชแห่งกรุงคอนสแตนติโนเปิล และทรงเรียกประชุมสังคายนาในเมืองหลวง (..381) การประชุมสังคายนาครั้งนี้ได้รวบรวมพระสังฆราชจากตะวันออกเท่านั้น และจากผลการประชุมมีข้อตกลงเหลืออยู่เพียงแค่ 4 ข้อเท่านั้น คือ เราต้องรักษาความเชื่อที่การประชุมสังคายนาแห่งเมืองนีเชอาประกาศไว้ และจะต้องปฏิเสธคำสอนนอกรีต ที่เป็นมาในภายหลังทั้งหมด ที่ประชุมจึงได้นำบทข้าพเจ้าเชื่อแห่งนีเชอากลับมาพิจารณา และเพิ่มคำยืนยันความเชื่อเรื่องพระจิตเจ้าว่า ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระจิตทรงเป็นพระเป็นเจ้า ผู้บันดาลชีวิต ทรงเนื่องมาจากพระบิดา ทรงรับสักการะและพระสิริรุ่งโรจน์ร่วมกับพระบิดาและพระบุตรนี่คือความเป็นมาของบทข้าพเจ้าเชื่อที่เราสวดทุกวันอาทิตย์ ในศตวรรษที่ 8 คริสตชนตะวันตกที่ใช้ภาษาละตินได้เพิ่มคำทรงเนื่องมาจากพระบิดาและพระบุตร” (Filioque) คำนี้แหละเป็นสาเหตุอันหนึ่งที่ทำให้พระศาสนจักรละติน(ตะวันตก)และพระศาสนจักรกรีก(ตะวันออก)แตกแยก ซึ่งจะเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 11 การประชุมสังคายนาครั้งนี้ยังเป็นเสมือนสนามรบระหว่างบุคคลบางคน สมาชิกในที่ประชุมได้คัดค้านว่า เกรโกรี่ แห่งนาซีอันซุส ไม่มีสิทธิที่จะเป็นพระสังฆราชแห่งกรุงคอนสแตนติโนเปิล เพราะเหตุว่าก่อนได้รับเลือกท่านเป็นพระสังฆราชของเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งอยู่ จะย้ายมารับตำแหน่งใหม่ไม่ได้ นักบุญเกรโกรี่เหนื่อยหน่ายต่อความวุ่นวายที่ได้เกิดขึ้น จึงถอนตัวไปอาศัยอยู่ในฟาร์มของตน จึงมีการเลือกข้าราชการคนหนึ่งซึ่งปลดเกษียณแล้วให้เป็นพระสังฆราชแห่งคอนสแตนติโนเปิล

ที่มา : Brox, Norbert . (1994). A History of the Early Church. London:SCM Press LTD. (161-167)__

เทวฤทธิ์ สุขเกษม

แนวปราการจักรวรรดิโรมัน กำแพงเฮเดรียน (Hadrian’s Wall)
    บทนำ                                                                   
                เมื่อกล่าวถึงอาณาจักรโรมัน คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธได้ว่า ความยิ่งใหญ่ทางการเมือง ภาษา วัฒนธรรม ของชาวโรมันไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอาณาจักรใดๆที่อยู่บนโลกนี้ ด้วยเหตุว่า แนวคิดและการดำรงชีวิตของชาวโรมันนั้นช่างน่าทึ่งและน่าศึกษายิ่งนัก อาณาจักรโรมันนี้มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลและมีการจัดการปกครองที่มีระบบระเบียบอย่างมาก มีกองทัพอันเกรียงไกรและมีแสนยานุภาพในการทำลายล้างชนชาติที่กบฏและอยากต่อกรกับอาณาจักรโรมัน  ถึงอย่างไรก็ตามอาณาจักรโรมันอันเกรียงไกรก็ต้องสูญสลายไปกาลเวลา ดังเช่นอาณาอื่นๆที่อยู่บนโลกใบนี้ ซึ่งเริ่มจากการก่อร่างสร้างตัว หลังจากนั้นเมื่อมีกองทัพที่เข้มแข็ง จึงเริ่มปฏิบัติการการรุกรานอาณาจักรอื่นๆที่ไม่ยอมเป็นเมืองขึ้น จนในที่สุดอาณาจักรเริ่มแผ่ขยายออกไปกว้างใหญ่ไพศาล เมื่อถึงจุดสูงสุด ไม่นานนักก็จะเป็นเช่นเดียวกันกับทุกๆ อาณาจักร สิ่งนี้ผู้เขียนเรียกว่าความเสื่อม ซึ่งจะมาจากหลายสาเหตุเป็นการแทรกซึมที่นานมาแล้ว โดยที่ผู้ปกครองหรือแม้แต่คนในอาณาจักรก็รู้เช่นเดียวกัน ดังนั้นสิ่งนี้จึงเป็นเป็นเหมือนเชื้อโรคร้ายที่ค่อยๆ กัดกินอาณาจักรทำให้อาณาจักรนี้อ่อนแอลงทุกวัน ดังนั้นเมื่อเวลาล่มสลายของอาณาจักร การรุกรานจากอาณาจักรที่แข็งแกร่งกว่าก็จะเข้ามาทำลายร้างและยึดครอง จนกระทั่งอาณาจักรที่เคยรุ่งเรืองได้ล่มสลายไป อาณาจักรโรมันเองก็หนีไม่พ้นกับความจริงในเรื่องนี้ ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษาเกี่ยวกับอาณาจักรโรมัน ทำให้ผู้เขียนได้รู้ประวัติศาสตร์มากมายเกี่ยวกับอาณาจักรนี้ แม้อาณาจักรนี้จะล่มสลายไปแล้วในปี ค.ศ. 476 แต่ยังคงมีอิทธิพลกับมนุษย์ในสังคมปัจจุบันต่อไป อาทิเช่น การเมืองการปกครอง ภาษา(ลาติน) ประเพณีและวัฒนธรรม ซึ่งได้ถูกดัดแปลงให้เข้ากับศาสนาคริสต์โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งรับประเพณีและวัฒนธรรมของชาวโรมันมาอย่างมากมาย ถึงกระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้ต้องการที่จะศึกษาในเรื่องนี้เท่าใดนัก ส่วนเรื่องที่ผู้เขียนต้องการศึกษานั้นก็คือเรื่องการสร้างกำแพงเมืองของชาวโรมันที่ยังคงมีร่องรอยมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน แม้สภาพจะไม่สมบูรณ์อย่างเช่นกำแพงเมืองจีน แต่ก็ทำให้ผู้เขียนได้เห็นภาพความเจริญในอดีตของอาณาจักรแห่งนี้ โดยที่ความเหมือนของกำแพงเมืองจีนและกำแพงเฮเดรียนของอาณาจักรโรมัน ซึ่งอยู่ในประเทศอังกฤษนั้น มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการรุกรานของชนเผ่าอื่น อีกทั้งเพื่อเป็นแนวพรมแดนของอาณาจักรของตน ดังนั้นผู้เขียนจึงอยากนำเสนอเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของกำแพงเฮเดรียนนี้ ให้กับผู้อ่านได้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้าง


สภาพโดยทั่วไป
                ตั้งแต่ราว 500 ปีก่อนคริสตกาล โรมขยายแสนยานุภาพอย่างไม่หยุดยั้งเป็นเวลาถึง 600 ปี แปลงสภาพจากนครรัฐเล็กๆ ของอิตาลีในภูมิภาคที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งและระส่ำระสาย จนกลายเป็นจักรวรรดิอันเกรียงไกรที่สุดที่ยุโรปเคยรู้จัก จักรพรรดิทราจันทรงเป็นหนึ่งในผู้สืบทอดขนบแห่งการรุกรานขยายอำนาจอย่างกระตือรือร้น ระหว่างปี ค.ศ. 101 ถึง 107 พระองค์ทรงทำสงครามพิชิตดินแดนที่ปัจจุบันคือ โรมาเนีย อาร์เมเนีย อิหร่าน อิรัก และยังปราบกบฏชาวยิวอย่างเหี้ยมโหด เมื่อทรงสิ้นพระชนม์ก็ทรงมอบราชสมบัติให้กับพระโอรสบุญธรรมผู้มีพระนามว่า พูบลีอัส เอลีอัส เฮดรีอานัส ต่อมาจักรพรรดิองค์ใหม่ซึ่งรู้จักกันในนามเฮเดรียน ทรงเปลี่ยนแนวทางในการปกครองดูแลอาณาจักรอันกว้างใหญ่นี้ เหล่านักการเมืองและขุนศึกกดดันให้พระองค์ดำเนินนโยบายเฉกเช่นพระบิดาบุญธรรมได้ทรงเคยกระทำไว้ จักรพรรดิเฮเดรียน ทรงฉลาดพอจะตระหนักว่า พระบิดาบุญธรรมทรงทำในสิ่งที่เกินกำลังของพระองค์ พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยคือ ทรงละทิ้งดินแดนที่ได้มาใหม่เพื่อตัดภาระในการปกครองดูแล
                นโยบายของจักรพรรดิองค์ใหม่เป็นการท้าทายภาพลักษณ์ของโรมอย่างถึงแก่น จักรวรรดิที่วาดหวังจะครองโลกเยี่ยงโรมันยอมรับได้อย่างไรว่า ดินแดนบางส่วนนั้นอยู่ไกลเกินเอื้อม จักรพรรดิเฮเดรียนอาจเพียงแค่เข้าพระทัยว่าความกระหายอันไม่สิ้นสุดของโรมันให้ผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่า มณฑลที่มีค่าหรือให้ผลตอบแทนสูงสุด เช่น กอลหรือสเปนอันเป็นบ้านเกิดของพระองค์นั้น เต็มไปด้วยเมืองน้อยใหญ่และไร่นาสาโท แต่การต่อสู้แย่งชิงดินแดนบางแห่งกลับได้ไม่คุ้มเสีย ดังนั้นโรมันจึงพยายามครอบครองผืนดินและท้องทะเลที่ดีที่สุด พวกเขาจึงมีความมุ่งมั่นรักษาจักรวรรดิของตนอย่างรอบคอบ แทนที่จะขยายอำนาจอย่างไม่มีที่สิ้นสุดไปยังดินแดนยากไร้และเต็มไปด้วยชนเผ่าอารนายชนที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด ความยอมรับนับถือที่กองทัพมีต่อจักรพรรดิเฮเดรียนถือเป็นปัจจัยสำคัญ จักรพรรดิทรงเป็นอดีตทหาร พระองค์ทรงไว้พระทาฐิกะ(เครา) แบบทหาร และทรงเป็นจักรพรรดิโรมันองค์แรกที่ทรงทำเช่นนี้ พระองค์ใช้เวลากว่าครึ่งหนึ่งตลอดรัชสมัยที่ยาวนาน 21 ปี เสด็จประพาสมณฑลต่างๆ เพื่อเยี่ยมเยือนกองทัพทั่วทั้งสามทวีป ทุกแห่งที่เฮเดรียนเสด็จเยือนมีกำแพงผุดขึ้นตามรายทาง พระองค์ทรงส่งสารให้กับทุกคนในอาณาจักรรู้ว่าจะไม่มีการทำสงครามเพื่อยึดครองดินแดนอีกต่อไป
                เมื่อจักรพรรดิผู้ทรงไม่เคยหยุดนิ่งสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 138 เครือข่ายป้อมและถนนซึ่งเดิมสร้างขึ้นเพื่อส่งกำลังบำรุงให้กองทหารที่เคลื่อนพล ได้กลายเป็นแนวพรมแดนที่ทอดยาวหลายพันกิโลเมตร เมื่อเป็นดังนี้ กองทัพที่ประจำอยู่ตามค่ายจึงเปรียบเสมือนป้อมปราการที่โอบล้อมโลกอารยะไว้ ตั้งแต่เมืองใน



เอธิโอเปียไปจนจรดเมืองฟาซิส และจากแม่น้ำยูเฟรทีสไปจนถึงเกาะอันยิ่งใหญ่ที่อยู่ไกลสุดทางตะวันตก เอลีอัส อาริสติดีส นักปาฐกชาวกรีก กล่าวอย่างภาคภูมิหลังจากจักรพรรดิเฮเดรียนสิ้นพระชนม์ได้ไม่นาน
                “เกาะที่อยู่ไกลสุดดังกล่าว เป็นที่ที่จักรพรรดิเฮเดรียนทรงสร้างอนุสาวรีย์ซึ่งได้นามตามพระองค์ เป็นเชิงเทินและกำแพงสร้างด้วยหินและหญ้าที่แบ่งเกาะอังกฤษออกเป็นสองส่วน ปัจจุบัน กำแพงเฮเดรียนที่ทอดยาว 118 กิโลเมตร เป็นหนึ่งในแนวพรมแดนโรมันที่ได้รับการอนุรักษ์และศึกษาอย่างดีที่สุดแห่งหนึ่ง กำแพงที่จักรพรรดิทรงออกแบบด้วยพระองค์เองเมื่อครั้งทรงเสด็จเยือนอังกฤษในปี .. 122 สะท้อนพระประสงค์ที่ทรงต้องการกำหนดขอบเขตของจักรวรรดิโรมันได้อย่างชัดเจน (แอนดรูว์ เคอร์รี.2555 : 62 -79)
กำแพงเฮเดรียน
                จักรพรรดิเฮเดรียนทรงต้องการสร้างกำแพงนี้ขึ้นมาอย่างที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้นแล้วว่า เพื่อเป็นเส้นแบ่งชายแดนของจักรวรรดิและเพื่อป้องกันการปล้นสะดมจากเผ่าทางตอนเหนือ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าทหารโรมันใช้เวลา 6 - 8 ปี ในการสร้างกำแพงนี้ มีความยาวประมาณ 118 กิโลเมตร เดิมกำแพงนี้สร้างจากไม้และดิน ต่อมาสร้างให้แข็งแรงขึ้นกลายเป็นกำแพงหินสูงซึ่งมีความสูงน่าเกรงขามถึง 4.5 เมตร กว้าง 3 เมตร ( สุปรานี มุขวิชิต. 2549 : 11) กำแพงนี้สร้างจากวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น กรวด ปูน หิน เป็นต้น ปัจจุบันยังมีร่องรอยของคูลึกสามเมตรที่ขุดขนานไปกับแนวกำแพงปรากฏให้เห็นอยู่ การขุดค้นทางโบราณคดีพบถนนสายหนึ่งที่ตัดขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อช่วยให้ทหารรับมือข้าศึกได้สะดวก แล้วยังมีประตูอยู่เป็นระยะๆ รวมทั้งหอคอยระวังเหตุทุกๆ 500 เมตร
                ถัดจากกำแพงเข้าไปไม่กี่กิโลเมตร มีการสร้างป้อมเป็นแนว แต่ละป้อมห่างกันชั่วระยะเดินทัพครึ่งวัน มีขนาดใหญ่พอจุทหารได้ราว 500 ถึง 1,000 นาย ทำให้สามารถรับมือการจู่โจมได้อย่างทันท่วงที โดยปกติกองทัพโรมันแบ่งออกเป็นหลายกองพล โดยแต่ละกองพลจะมีทหาร 10,000 นาย ทหารเดินเท้าเรียกว่า ทหารราบ เหนือขึ้นไปเป็นผู้บังคับกองร้อยซึ่งจะมีชุดเกราะที่หนักกว่าและสวมหมวกประดับด้วยขนนกสีแดง เพื่อให้สามารถจำได้ง่าย ทหารมักจะถืออาวุธ 3 อย่างคือ หอก ดาบ และมีดสั้น นอกจากนี้ยังมีชุดเกราะสำหรับป้องกันตัว อาวุธต่างๆ เหล่านี้ทำให้ทหารโรมันมีประสิทธิภาพมากในการรบ นอกจากนี้ชาวโรมันยังมีเครื่องกระทุ้งขนาดใหญ่ เครื่องขว้างหิน และคันธนูขนาดใหญ่ไว้ยิงลูกไฟใส่กำแพงของศัตรู (คอล,จอน ดี.2551 : 113)
               

หลังจากจักรพรรดิเฮเดรียนเสด็จสวรรคตในปี .. 138 แล้ว จักรพรรดิองค์ใหม่อันโตนินัส ไพอัส (Antoninus Pius) ก็ทรงหมดความสนใจกับกำแพงและทิ้งไว้ให้เป็นกำแพงรอง ขณะเดียวกันก็ขึ้นไปสร้างกำแพงใหม่ลึกเข้าไปในสกอตแลนด์ราว 160 กิโลเมตร (100 ไมล์) เหนือกำแพงเฮเดรียนเดิมที่เรียกว่ากำแพงอันโตนิน กำแพงนี้ยาว 40 โรมันไมล์ (ราว 60.8 กิโลเมตรหรือ 37.8 ไมล์) และมีป้อมมากกว่ากำแพง           เฮเดรียนมาก แต่กำแพงอันโตนินก็ไม่สามารถป้องการรุกรานชนเผ่าจากทางเหนือได้ เมื่อมาร์คัส ออเรลิอัส (Marcus Aurelius) ขึ้นเป็นจักรพรรดิโรมันพระองค์ก็ทรงเลิกใช้กำแพงอันโตนินและหันกลับมายึดกำแพง เฮเดรียนเป็นหลักตามเดิมในปี .. 164 กองทหารโรมันยังคงประจำการที่กำแพงเฮเดรียนเรื่อยมาจนกระทั่งโรมันถอยจากบริเตน ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5
วิเคราะห์ผลการศึกษา
                ผู้เขียนมีความเห็นว่าสิ่งก่อสร้างนี้เป็นอนุสรณ์ที่ทำให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงแนวคิด วิถีการดำรงชีวิต และการทำสงครามของอาณาจักรโรมัน แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนวิเคราะห์ก็คือการสร้างกำแพงนั้นไม่ว่าจะเป็นที่แห่งใดก็ตาม สิ่งนี้เปรียบเสมือนเกราะป้องกันตัวเองให้รู้สึกปลอดภัย เมื่ออยู่ในปราการอันเป็นที่กำบังภัยจากสิ่งต่างๆที่อยู่รอบด้าน ดังนั้นกำแพงจึงเปรียบเสมือนการขวางกั้นในแบบของรูปธรรม นั้นก็คือเป็นสิ่งที่กั้นพวกเขากับพวกเราไม่ให้ได้พบกัน ในแง่ของนามธรรมผู้เขียนมองในเรื่องจิตใจของมนุษย์ ซึ่งมักสร้างกำแพงขึ้นมาทั้งด้วย ความเกลียดชัง  ความเครียดแค้น ความมักใหญ่ใฝ่สูง ฯลฯ กำแพงในจิตใจมนุษย์นี่น่ากลัวยิ่งกว่ากำแพงที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเป็นปราการป้องกันศัตรูที่มารุกรานเสียอีก เพราะว่ากำแพงที่เป็นปราการอาจถูกทำลายได้ด้วยฝีมือของศัตรูที่ต้องการจะทำลายและเข้าไปยึดครองดินแดนด้านในกำแพงนั้น ในทางกลับกันจิตใจของมนุษย์ถ้าหากก่อความเกลียดชัง ความโกรธ หรือทัศนคติไม่ดีมากขึ้นเท่าใด กำแพงนี้ก็จะมีความแข็งแกร่งมาขึ้นเท่านั้นจนไม่สามารถถูกทำลายได้ ถ้าหากบุคคลนั้นไม่เปิดใจ หรือไม่คิดที่จะทำลายกำแพงในจิตใจของตนเองให้ทลายไป ตราบนั้นชีวิตที่เต็มไปด้วยการขวางกั้นก็ไม่อาจพบกับความสุขที่แท้จริง หรือมิตรภาพจากบุคคลรอบข้างได้เลย ดังนั้นกำแพงที่ดีที่จะช่วยให้เราอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขนั่นก็คือ กำแพงแห่งความดีซึ่งช่วยให้เรามีความสุข และความปรารถนาดีกับทุกคน เพื่อต่อสู้กับความชั่วที่เป็นศัตรูตัวฉกาจที่แท้จริงของชีวิตมนุษย์

บรรณานุกรม
คอล จอน ดี.   (2551). เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก.    กรุงเทพฯ  :  อมรินทร์พริ้นติ้ง.
สุปรานี มุขวิชิต.  (2549). ประวัติศาสตร์อังกฤษและราชวงศ์.   กรุงเทพ  :  สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
แอนดรูว์ เคอร์รี. (2555). อารยธรรมโบราณ โลกตะวันตก. กรุงเทพ  :  สำนักพิมพ์ปาเจรา.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2550).    “กำแพงเฮเดรียน,”.   เข้าถึงได้จาก  :  hppt://www.travel.thaiza.com  สืบค้นวันที่ 17 กรฏาคม 2556.
Wilson, Roger J.A.,A Guide to the Roman Remains in Britain. London: Constable&Company, 1980.